เมนู

อรรถกถากุมารีภูตวรรคที่ 8


อรรถกถากุมารีภูตวรรค สิกขาบทที่ 1-2-3


สิกขาบทที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 แห่งกุมารีภูควรรค เช่นเดียวกับคิหิคต
สิกขาบททั้ง 3 นั่นเอง. ก็มหาสิกขมานา 2 รูปก่อนเขาทั้งหมดบัณฑิตพึงทราบ
ว่า มีอายุล่วง 20 ปีแล้ว มหาสิกขมานาเหล่านั้นจะเป็นสตรีคฤหัสถ์ (เคยมี
สามีแล้ว) หรือมิใช่สตรีคฤหัสถ์ก็ตามที สงฆ์ควรเรียกว่า สิกขมานา เหมือนกัน
ในสมมติกรรมเป็นต้น ไม่ควรเรียกว่า ติหิคตา หรือว่า กุมารีภูตา. ภิกษุณี
สงฆ์พึงให้สิกขาสมมติแก่สตรีคฤหัสถ์ในเวลามีอายุ 10 ปี แล้วทำการอุปสมบท
ในเวลามีอายุ 12 ปี. ให้ในเวลามีอายุ 11 ปี แล้วทำอุปสมบทในเวลามีอายุ
13 ปี. ให้สมมติในเวลามีอายุ 12 ปี 13 ปี 14 ปี 15 ปี 16 ปี 17 ปี และ
18 ปี แล้วพึงกระทำการอุปสมบทในเวลามี 14-15-16-17-18-19-20
ปี. ก็แล ตั้งแต่เวลามีอายุ 18 ปีขึ้นไป สตรีคฤหัสถ์นี้ จะเรียกว่า คิหิคตา
บ้าง ว่า กุมารีภูตาบ้าง ก็ได้. แต่สตรีผู้เป็นกุมารีภูตา ไม่ควรเรียกว่า คิหิคตา
ควรเรียกว่า กุมารีภูตาเท่านั้น. ฝ่ายมหาสิกขมานา จะเรียกว่า คิหิคตาบ้าง
ก็ไม่ควร. จะเรียกว่ากุมารีภูตาบ้าง ก็ไม่ควร. แม้ทั้ง 3 นาง ควรเรียกว่า
สิกขมานาด้วยอำนาจการให้สิกขาสมมติ.

อรรถกถากุมารีภูตวรรค สิกขาบทที่ 1-2-3 จบ

กุมารีภูตวรรค สิกขาบทที่ 4


เรื่องภิกษุณีหลายรูป


[413] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-
เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น พวก
ภิกษุณีผู้มีพรรษาหย่อน 12 พากันบวชกุลธิดา ภิกษุณีผู้อุปัชฌายะเหล่านั้น
เป็นคนเขลาไม่ฉลาด ไม่รู้สิ่งที่ควรหรือไม่ควร แม้สัทธิวิหารินีทั้งหลายก็เป็น
คนเขลาไม่ฉลาด ไม่รู้สิ่งที่ควรหรือไม่ควร.
บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย. . . ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า
ไฉนภิกษุณีทั้งหลายมีพรรษาหย่อน 12 จึงได้บวชกุลธิดาเล่า. . .

ทรงสอบถาม


พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข่าวว่าภิกษุณีทั้งหลายมีพรรษาหย่อน 12 บวชกุลธิดา จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท


พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉนภิกษุณี
ทั้งหลาย มีพรรษาหย่อน 12 จึงได้บวชกุลธิดาเล่า การกระทำของพวกนางนั่น
ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส. . .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่าง
นี้ ว่าดังนี้:-